วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ชะลอม







ชะลอม ห้องภูมิปัญญา





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชะลอม                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชะลอม






ชะลอม  (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ  ชะลอมเป็นเครื่องจักสานที่สานขึ้นจากตอกไม้ไผ่บางๆ มีหูหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย  ใช้เป็นภาชนะใส่ผักผลไม้และสิ่งของต่างๆ
ประวัติความเป็นมา  ชะลอมสานแบบตาเฉลวหกเหลี่ยมตาห่าง มักจะทําเป็น
รูปทรงกระบอกแล้วรวบตอกที่ปากมัดเข้าด้วยกันเพื่อหิ้ว การสานชะลอมขึ้นมาใช้  นอกจากจะทําเป็นภาชนะ
ใส่ของที่มีความคงทนแข็งแรงแล้ว รูปทรงและลายสานที่สวยงามของชะลอมยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ
มรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย
 ชะลอม กล่องของขวัญแบบไทยๆ
ชะลอมเป็นภาชนะจักรสานที่ใช้ไม้ไผ่สาน    สำหรับใส่ของเช่น ใส่ผลไม้  ใส่เครื่องครัว  ใส่ของต่างๆ ชะลอมเป็นภาชนะที่ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเส้น ๆ เพื่อนำมาจักรสาน  ชะลอมธรรมดาก็จะเป็นสีของไม้ธรรมชาติคือจะเป็นสีทอง  ในสมัยก่อนคนไทยนิยมใช้ชะลอมใส่ของเพื่อจะนำไปฝากบ้านโน้น  บ้านนี้  ถ้าจะมากรุงเทพก็ใช้ชะลอมนี่แหละใส่ของมาไม่ว่าจะเป็น  กับข้าวหรืออะไรก็แล้วแต่    ตามจุดประสงค์ของคนที่จะใส่    แต่ปัจจุบันมักจะนำมาใช้เป็นการประยุกต์ห่อของขวัญแบบไทยๆวัสดุที่ใช้ในการทำ
  • ไม้ตอกไม้ไผ่กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร  ยาว 50 เซนติเมตร จำนวน 15 เส้น
  • ไม้ตอกขนาดเส้นเล็กกว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 50เซนติเมตร เส้น
  • สีย้อมผ้าที่ต้องการ

 วิธีทำ
1.               จำนำไม้ที่จะเอามาสานนั้นไปย้อมสี  ให้เป็นสีต่างๆ ตามที่เราต้องการ อาจจะเป็นสีเขียว  เหลือง แดง หรือว่าสีอะไรก็แล้วแต่ที่เราชอบ 
2.               นำไม้ที่เราย้อมสีเสร็จ มาสานโดยใช้ไม้ตอก เส้น วางไขว้เป็นตัว X
3.               นำไม้ตอกอีก เส้นสานขัดด้านบนและด้านล่าง
4.               นำไม้ตอกสานขัด ทิศทางให้ได้ด้านละ เส้น รวมเป็นไม้ตอกทั้งหมด 12 เส้น
5.               จะเห็นว่าไม้ตอกทุกเส้น จะขัดกันธรรมดา ยก ข้าม จะได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง รูปและมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ จำนวน รูป
6.               การขึ้นเป็นตัวชะลอม ให้เลือกจับมุมใดมุมหนึ่ง
นำไม้ตอกสานขวางจนรอบเป็นวงกลม ปลายไม้ตอก
ที่รอบให้ทับซ้อนกับจุดเริ่มต้นวนจนหมดความยาวของไม้ตอก
7.               ใช้ไม้ตอกสานลักษณะเดียวกันอีก เส้นโดยรอบจะได้ชะลอมขนาดย่อม
8.               นำไม้ตอกเส้นเล็กสานขัดรอบบนสุดกันหลุด เท่านี้ก็เสร็จสมบูรณ์

http://www.biogang.net/blog/blog_detail.php?uid=65203&id=3479