วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ชะลอม







ชะลอม ห้องภูมิปัญญา





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชะลอม                             ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชะลอม






ชะลอม  (ภาษาเรียกภาคกลาง)
ลักษณะ  ชะลอมเป็นเครื่องจักสานที่สานขึ้นจากตอกไม้ไผ่บางๆ มีหูหิ้ว
ประโยชน์ใช้สอย  ใช้เป็นภาชนะใส่ผักผลไม้และสิ่งของต่างๆ
ประวัติความเป็นมา  ชะลอมสานแบบตาเฉลวหกเหลี่ยมตาห่าง มักจะทําเป็น
รูปทรงกระบอกแล้วรวบตอกที่ปากมัดเข้าด้วยกันเพื่อหิ้ว การสานชะลอมขึ้นมาใช้  นอกจากจะทําเป็นภาชนะ
ใส่ของที่มีความคงทนแข็งแรงแล้ว รูปทรงและลายสานที่สวยงามของชะลอมยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของ
มรดกทางวัฒนธรรมอีกด้วย
 ชะลอม กล่องของขวัญแบบไทยๆ
ชะลอมเป็นภาชนะจักรสานที่ใช้ไม้ไผ่สาน    สำหรับใส่ของเช่น ใส่ผลไม้  ใส่เครื่องครัว  ใส่ของต่างๆ ชะลอมเป็นภาชนะที่ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นเส้น ๆ เพื่อนำมาจักรสาน  ชะลอมธรรมดาก็จะเป็นสีของไม้ธรรมชาติคือจะเป็นสีทอง  ในสมัยก่อนคนไทยนิยมใช้ชะลอมใส่ของเพื่อจะนำไปฝากบ้านโน้น  บ้านนี้  ถ้าจะมากรุงเทพก็ใช้ชะลอมนี่แหละใส่ของมาไม่ว่าจะเป็น  กับข้าวหรืออะไรก็แล้วแต่    ตามจุดประสงค์ของคนที่จะใส่    แต่ปัจจุบันมักจะนำมาใช้เป็นการประยุกต์ห่อของขวัญแบบไทยๆวัสดุที่ใช้ในการทำ
  • ไม้ตอกไม้ไผ่กว้างประมาณ 0.4 เซนติเมตร  ยาว 50 เซนติเมตร จำนวน 15 เส้น
  • ไม้ตอกขนาดเส้นเล็กกว้าง 0.2 เซนติเมตร ยาว 50เซนติเมตร เส้น
  • สีย้อมผ้าที่ต้องการ

 วิธีทำ
1.               จำนำไม้ที่จะเอามาสานนั้นไปย้อมสี  ให้เป็นสีต่างๆ ตามที่เราต้องการ อาจจะเป็นสีเขียว  เหลือง แดง หรือว่าสีอะไรก็แล้วแต่ที่เราชอบ 
2.               นำไม้ที่เราย้อมสีเสร็จ มาสานโดยใช้ไม้ตอก เส้น วางไขว้เป็นตัว X
3.               นำไม้ตอกอีก เส้นสานขัดด้านบนและด้านล่าง
4.               นำไม้ตอกสานขัด ทิศทางให้ได้ด้านละ เส้น รวมเป็นไม้ตอกทั้งหมด 12 เส้น
5.               จะเห็นว่าไม้ตอกทุกเส้น จะขัดกันธรรมดา ยก ข้าม จะได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง รูปและมีรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบ จำนวน รูป
6.               การขึ้นเป็นตัวชะลอม ให้เลือกจับมุมใดมุมหนึ่ง
นำไม้ตอกสานขวางจนรอบเป็นวงกลม ปลายไม้ตอก
ที่รอบให้ทับซ้อนกับจุดเริ่มต้นวนจนหมดความยาวของไม้ตอก
7.               ใช้ไม้ตอกสานลักษณะเดียวกันอีก เส้นโดยรอบจะได้ชะลอมขนาดย่อม
8.               นำไม้ตอกเส้นเล็กสานขัดรอบบนสุดกันหลุด เท่านี้ก็เสร็จสมบูรณ์

http://www.biogang.net/blog/blog_detail.php?uid=65203&id=3479




วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2560

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[แก้]

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงการรถไฟฟ้าวงแหวนที่มีเส้นทางทั้งบนดินและใต้ดิน ระยะทางรวมทั้งโครงการอยู่ที่ 55 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นของโครงการที่สถานีพุทธมณฑลสาย 4 ซึ่งเป็นสถานียกระดับในพื้นที่จังหวัดนครปฐม จากนั้นเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีบางหว้า ก่อนจะมาเจอกับสถานีท่าพระ ซึ่งเป็นสถานีใหญ่รวมเส้นทางของสายเฉลิมรัชมงคลเข้าด้วยกัน หลังจากผ่านสถานีท่าพระ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นเส้นทางใต้ดินที่สถานีอิสรภาพ ก่อนจะวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ความลึกกว่า 25 เมตร เพื่อเข้าสู่ฝั่งพระนคร รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนใต้ที่สถานีวังบูรพา และเข้าสู่สถานีหัวลำโพงซึ่งเป็นสถานีที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนด้วย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส อีกครั้งที่สถานีสีลม และ สถานีสุขุมวิท ก่อนจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีเพชรบุรี รวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ที่สถานีลาดพร้าว และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท อีกครั้งที่สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ก่อนเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อเพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง หลังออกจากสถานีบางซื่อ เส้นทางจะเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้ายกระดับอีกครั้ง และรวมเส้นทางกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมส่วนเหนือที่สถานีเตาปูน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรีอีกครั้งที่สถานีบางอ้อ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนอีกครั้งที่สถานีสิรินธร รวมเส้นทางกับสายสีส้มอีกครั้งที่สถานีบางขุนนนท์ ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางของทั้งโครงการที่สถานีท่าพระ จากนั้นรถไฟฟ้าจะตีรถกลับและวิ่งเส้นทางเดิม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจุดประสงค์ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามแผนแม่บทนั้น คือเป็นเส้นทางสำหรับใช้เดินทางระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเมื่อเปิดให้บริการทั้งโครงการ จะมีสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งถือว่าเยอะที่สุดในแผนแม่บท โดยปัจจุบันสายเฉลิมรัชมงคล เปิดให้บริการในเส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ โดยเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งโครงการ และให้บริการโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และกำลังก่อสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจนถึงสถานีท่าพระ และสถานีหลักสอง ซึ่งมีกำหนดเปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2562 อีกทั้งยังมีแผนขยายเส้นทางไปยังสถานีพุทธมณฑลสาย 4 ต่อในปี พ.ศ. 2564 อีกด้วย